วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สอนวาดรูปจากสีน้ำง่ายๆ


How to : สอนวาดรูปด้วยสีน้ำ...ฉบับง่าย ๆ ทำยังไงมาดู!


มาวาดรูปง่าย ๆ เริ่มจาก น้องแตงโมก่อนเลย


จากนั้นก็เริ่มวาดรูป ดอกกุหลาบ วาดกลีบโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว เล็ก ใหญ่ สลับกันไป ให้เป็นรูปทรงของดอกกุหลาบ


ต่อกันเลยกับช่อใบไม้ ใบเล็ก ๆ สีเขียวน่ารัก ๆ



และ เพิ่มความน่ารักไปให้สุด กับ รูปโบว์สีพาสเทล ที่ค่อย ๆ ไล่เลเยอร์ระดับสีให้มีความเท่ากัน


อ้างอิง

https://sistacafe.com/summaries/31789-Howto%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B9

เทคนิคสีน้ำ


8 เทคนิคสีน้ำที่มือใหม่หรือใครๆ ก็ทำได้ แถมสวยด้วย!


1. เกลือ : เนรมิตให้สีน้ำสวยเหมือนกาแล็กซี่

เลือกสีน้ำ1-2 สี (แนะนำให้เป็นสีฟ้า สีน้ำเงิน และสีม่วง) แล้วระบายลงบนกระดาษ จากนั้น ในขณะที่สีน้ำยังไม่แห้ง ให้โปรยเกลือลงไปตามชอบค่ะ สีเปียกเท่าไรเกลือยิ่งกระจายตัวได้ดี และปรากฏเป็นจุดสีขาวๆ ดูแล้วเหมือนภาพถ่ายกาแล็กซี่ที่เคยเห็นทางอินเตอร์เน็ตเปี๊ยบ

2.กระดาษทิชชู : ไม่เนี้ยบ แต่ให้พื้นผิวสุดเท่

เทคนิคนี้ใช้สีน้ำกี่สีก็ได้ แต่ต้องระบายให้ชุ่มเป็นพิเศษ จากนั้นขยุ้มกระดาษทิชชูให้ยับย่น แล้วทาบให้พอดีกับพื้นที่ที่ลงสีน้ำ ใช้ฝ่ามือกดเบาแล้วทิ้งไว้จนสีน้ำเริ่มแห้ง แล้วให้ดึงกระดาษทิชชูออกค่ะ อย่าเผลอทิ้งกระดาษทิชชูไว้นานเกินไปจนสี ‘แห้งสนิท’ เพราะกระดาษทิชชูจะติดหนึบกับกระดาษและสีน้ำ เละเทะแน่ๆ ค่ะ

3.แอลกอฮอล์ : แต้มดาวให้กับสีน้ำ

เกลือนั้นทำให้ภาพสีน้ำของคุณเป็นจุดเล็กๆ เหมือนมองเห็นดาวอยู่ไกลๆ แต่แอลกอฮอล์นั้นต่างออกไป เพียงแค่ใช้คอตตอนบัดจุ่มแอลกอฮอล์ แล้วหยุดลงบนภาพสีน้ำขณะที่ยังเปียกอยู่ ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ต่างจากการแต้มดาวดวงโตๆ บนภาพสีน้ำเลยค่ะ

4.สีเทียน : เปลี่ยนสีน้ำให้สวยเหมือนผ้าบาติก

เสน่ห์ของผ้าบาติกคือลวดลายที่เขียนด้วยเทียน และสีสันอันจัดจ้าน คุณสามารถนำเทคนิคนี้มาใช้กับสีน้ำได้เช็นกัน โดยเปลี่ยนจากเทียนเหลว เป็นสีเทียนธรรมดาๆ จากตัวอย่าง Alison Lang และ Rachel Beyer เลือกใช้สีขาววาดลงบนกระดาษ (อาจวาดรูปยากสักหน่อย แต่ถ้าคุณลองเอียงศีรษะหรือเอียงกระดาษขณะวาด จะช่วยให้มองเห็นลายเส้นสีเทียนที่เคลือบอยู่ได้ง่ายขึ้น) จากนั้นระบายสีน้ำทับลงไป สีเทียนที่วาดไว้จะมีคุณสมบัติเหมือนกับแว็กซ์กันน้ำ สีน้ำจึงซึมผ่านไปไม่ได้ ปรากฏเป็นภาพที่สวยงานและแปลกตาค่ะ

5.ปากกากันน้ำ : หมดกังวลเรื่องภาพเปรอะเปื้อน

จริงๆ เทคนิคนี้ไม่ใหม่เท่าไร แต่สำหรับคนที่ชอบร่างภาพด้วยดินสอก่อนลงสีน้ำ คงทราบดีใช่มั้ยคะว่ากราไฟท์จากดินสอมักทำให้สีน้ำไม่สดใส เวลาจะลงสีน้ำ ศิลปินหลายคนจึงมักจะค่อยๆ ลบดินสอออกไปที่ละนิด ซึ่งสำหรับมือใหม่ที่ยังวาดรูปไม่เก่ง การลบเส้นดินสอออกจึงไม่ต่างอะไรกับการคลำทางอยู่ในความมืด ดังนั้น ลองใช้ปากกากันน้ำ (Permanent Marker) วาดรูปแทน ตัดปัญหาภาพเปรอะเปื้อนเวลาลงสีค่ะ

6.หยดสีแบบที่ 1 : ง่ายแต่เปลี่ยนภาพสีน้ำให้น่าสนใจขึ้นได้


หลายคนคงเคยเรียนเรื่องการหยดสีตอนเด็ก เทคนิคนี้ไม่ต่างกันเลยค่ะ แค่ระบายสีน้ำลงบนกระดาษ แล้วหยดสีอื่นลงไปในขณะที่สีแรกยังไม่แห้ง แค่นี้ก็สวยและน่าสนใจขึ้นแล้ว

7.หยดสีแบบที่ 2 : สีน้ำก็เท่ได้

เวลาพูดถึงสีน้ำ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงความนุ่มนวล บางเบา เป็นธรรมชาติ แต่ถ้าคุณเปลี่ยนจากการใช้พู่กันระบาย เป็นการจุ่มสีน้ำ แล้วเคาะพู่กันให้สีหยดเป็นละอองเล็กๆ ดูเท่อย่าบอกใคร

8.สีน้ำโปร่งแสง : เพิ่มมิติและลูกเล่น

เพื่อนๆ ที่วาดภาพสีน้ำเป็นประจำน่าจะทราบดีว่าสีน้ำมีคุณลักษณะโปร่งแสง คือเมื่อระบายทับกัน สีที่อยู่ด้านบนจะไม่ทับสีที่อยู่ด้านล่างจนมิด แต่จะมองเห็นเหมือนสีด้านล่างถูกเคลือบด้วยกระจกสีค่ะ
วิธีการวาดภาพสีน้ำด้วยเทคนิคนี้ให้เริ่มจากการใช้สีอ่อน วาดเป็นรูปทรงตามใจชอบ รอให้สีแห้ง จากนั้นใช้สีที่เข้มขึ้น (อาจเป็นสีเดียวกันหรือเฉดใกล้เคียงกัน จะทำให้ภาพดูสวยงาม แต่จะลองใช้สีตัดกันก็ได้เช่นกันค่ะ) ระบายให้เหลื่อมกับรูปแรกเล็กน้อย เท่านี้ก็ได้ภาพที่สวยงามแล้วค่ะ





อ้างอิง

วงจรหนอนผีเสื้อ



วงจรชีวิตผีเสื้อ



ไข่

ผีเมื้อหลังจากผ่านการผสมพันธุ์เเล้ว จะบินไปที่พืชอาหารของ ตัวหนอนเพื่อวางไข่ ไข่มีรูปร่างต่างกันขึ้นอยู่กับวงศ์ของผีเสื้อ บางชนิด มีรูปร่างกลม บางชนิดเป็นกรวย ในการวาง ไข่ผีเสื้อจะวางไว้ที่พืชอาหาร อาจวางเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่ม หรือบางชนิดวางไว้ใกล้กับพืชอาหาร ซึ่งไข่ ของผีเสื้อใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 3-5 วันจึงฟักเป็นตัวหนอน


ตัวหนอน


หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่เเล้ว ตัวหนอน มี ลักษณะที่เเตกต่าง กันอาหาร อย่างเเรกที่ ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้น ตัวหนอนจึงเริ่มกิน ใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อน ก่อน ซึ่งลักษณะการกินของ ตัวหนอนจะเริ่ม จากขอบใบ เข้าหา กลางใบ เเละจะมี การลอกคราบ เพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยคลอด ระยะเวลาที่เป็น ตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนเเปลง เกิดขึ้น                   นอกจ ากขนาดที่ใหญ่ขึ้นเเล้ว บางชนิด สีสรร เเละ รูปร่าง ก็เเตกต่างกันไปด้วยช่นหนอนผีเสื้อหางติ่งหนอนมะนาว ในระยะเเรกๆสีสรรก็เหมือนมูลนก เเต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้น สีสรรจะ เปลี่ยนไปเป็นสีเขียว มีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอก ด้วย เป็นต้น เเต่ทั้งหมด มีสิ่งหนึ่งซึ่งทำ ให้สามารถ จำเเนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอน มีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก เเละขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอ น ทั่วไป มักหากินเดี่ยวๆ เเต่ก็มีบางชนิดทีระยะเเรกๆ หากินกัน เป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน


ดักแด้



 เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบ เพื่อเข้า ดักเเด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เเต่ภาย ในเปลือกดักเเด้ การ พัฒนา ต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการ สะสมอาหาร ไว้อย่างเต็มที่ เป็นที่ หมายปองของเหล่าบรรดารตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนขอ ผีเสื้อ เเต่ละชนิด จะเลือกที่เข้าดักเเด้ต่างกันไป ระยะ ดักเเด้ใช้เวลาประมาณ 7-10


ตัวเต็มวัย
คือผีเสื้อที่มีสีสรรสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งเเต่ออกจากดักเเด้ โดย ผีเสื้อ ช่ขาดันเปลือกดักเเด้ให้ปริเเตกออก เเละผีเสื้อที่มีปีก ยับยู่ยี่ จะออกมา ใน ลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสีย ที่เป็สีชมพูออก มา ในระยะเเรกปีก ของผีเสื้อยังไม่สามารถเเผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของ เหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก เเละต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงใน การทำให้ปีกเเข็ง พอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดเเละเเต่ละช่วงอายุขัย




อ้างอิง

https://youtu.be/Q7QpW80WNEI

https://supapornmuay.wordpress.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD/

เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ


เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ


อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงและความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดถึงร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)  นอกจากนี้ ยังมีสัดส่วนแรงงานสูงที่สุดถึงร้อยละ 40  โดยประเทศไทยมีความพร้อมทั้งในด้านวัตถุดิบ อาทิ เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก (75 ล้านตันต่อปี) และส่งออกมันสำปะหลังอันดับ 1 ของโลก (25 ล้านตันต่อปี) นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในอาเซียน โดยมีการใช้เอทานอล 2.9 ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซล 2.8 ล้านลิตรต่อวัน อีกทั้งเป็นผู้นำการแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกในอาเซียน โดยมีผู้ประกอบการมากกว่า 3,000 ราย และเป็นผู้นำการผลิตเม็ดพลาสติกในอาเซียน 6.6 ล้านตันต่อปี ตลอดจนเป็นฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้าน (Home Care) ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล (Personal Care) และเครื่องสำอาง


อ้างอิง


https://www.tech2biz.net/content/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E